และราคาที่คนทั่วไปสามารถจับต้องได้ โดยมีตั้งแต่ระดับ 300 ซีซี ไปจนถึงระดับ 1,800 ซีซี แต่รถจักรยานยนต์เหล่านี้
ไม่ใช่ว่าซื้อมาแล้วจะไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มเติมขึ้นมาอีกครับ วันนี้จะขอนำเสนอ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับการเป็นเจ้าของ Big Bike
มาให้ผู้ที่สนใจใช้ประกอบการพิจารณาครับ
1.ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาตามระยะทาง
ปกติการเข้าศูนย์บริการครั้งแรกจะต้องเข้าเช็คระยะเมื่อครบ1,000 กิโลเมตรแรก เพื่อทำการถ่ายน้ำมันเครื่อง ซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่อง
ค่าแรงช่างยนต์ ซึ่งคิดเป็นรายชั่วโมง และค่าน้ำมันเครื่อง รถ Big Bike จะใช้น้ำมันเครื่องราว ๆ 1.5 – 4.0 ลิตร
ซึ่งมีราคาลิตรละสองถึงสามร้อยบาท ยิ่งยี่ห้อที่มีคุณภาพสูง ราคาก็ยิ่งสูงตาม
ในส่วนการเข้าบำรุงรักษาตามระยะทาง ค่าใช้จ่ายจะสูงต่ำไปตามซีซีของรถ และยี่ห้อของรถ เช่น รถ 300 ซีซี เวลาเข้าเช็คระยะ
จะมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่ารถ 600 ซีซี และรถยุโรป เวลาเข้าเช็คระยะจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ารถญี่ปุ่นครับ
2.ค่าอะไหล่
บรรดาอุปกรณ์ที่มีติดมาให้กับรถ เช่น ยางรถ กรองอากาศ ไส้กรองน้ำมันเครื่อง หัวเทียน ไฟหน้า ไฟท้าย ผ้าเบรก ชุดโซ่ สเตอร์
แบตเตอรี่ ฯลฯ ของเหล่านี้ เป็นของที่มีการเสื่อมสภาพไปตามการใช้งาน เมื่อถึงเวลาที่สิ่งของเหล่านี้เสื่อมสภาพ
ก็จะต้องเปลี่ยนของใหม่ใส่เข้าไป ราคาจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของอุปกรณ์ชิ้นใหม่ที่เอามาเปลี่ยน ถ้าเป็นของแท้จากศูนย์บริการ
ก็จะมีราคาสูง แต่ศูนย์บริการก็จะรับประกันให้ แต่ถ้าเป็นของปลอม หรือไม่ใช่ของศูนย์บริการ จะมีราคาถูก แต่ไม่มีการรับประกันให้
สิ่งที่ต้องเปลี่ยนบ่อยที่สุด คือ ยางรถ เพราะรถซื้อมาก็ต้องวิ่ง ยิ่งวิ่งมากยางก็ยิ่งสึกและเสื่อมสภาพไป ยางรถ Big Bike คู่หนึ่ง
มีราคาตั้งแต่ 4,000 – 5,000 บาท ไปจนถึงหลักหมื่นบาท ตามคุณภาพของยาง เรียกได้ว่า จะเปลี่ยนยางแต่ละครั้ง
ต้องเก็บเงินกันหลายเดือนเลยทีเดียวครับ
3. ค่าเบี้ยประกันภัย
ปกติถ้าซื้อรถ Big Bike แบบเช่าซื้อ หรือซื้อเงินผ่อน บริษัทไฟแนนซ์มักจะให้ผู้เช่าซื้อทำประกันภัยรถและจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย
แม้หลายคนอาจจะซื้อรถด้วยเงินสด แต่ด้วยราคาตัวรถที่สูง การทำประกันภัยไว้ก็เป็นสิ่งที่ดีกว่า เวลาเกิดอุบัติเหตุจะได้อุ่นใจ
เพราะไม่ต้องจ่ายเงินซ่อมรถเองทั้งหมด ซึ่งในส่วนนี้ ก็จะมีค่าเบี้ยประกันภัย ที่เพิ่มขึ้นมาเป็นค่าใช้จ่ายครับ
4.ค่าอุปกรณ์การขับขี่
เนื่องจากรถBig Bike เป็นรถที่มีความเร็วสูง และมีน้ำหนักมาก เวลาเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง อาจทำให้มีความเสียหายมาก
ดังนั้น ผู้ขับขี่จึงต้องมีอุปกรณ์ในการป้องกันความเสียหายจากอุบัติเหตุ ซึ่งได้แก่
- หมวกนิรภัย (ราคา 2,000 - 30,000 บาท)
- เสื้อแจ๊คเกต (ราคา 5,000 – 30,000 บาท)
- รองเท้า (ราคา 2,000 – 15,000 บาท)
- ถุงมือ (ราคา 500 – 6,000 บาท)
5.ค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์เสริมเพื่อความสะดวกสบาย
สำหรับคนที่ซื้อ Big Bike เพื่อการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ ตัวรถเปล่า ๆ อาจจะไม่สะดวกสบายเพียงพอ ต้องมีการติดอุปกรณ์เสริม
เช่น กล่องบรรทุกสัมภาระ GPS เพื่อใช้ดูเส้นทาง โครงเหล็กกันเครื่องและตัวรถสำหรับลุยทางวิบาก
เพื่อให้รถพร้อมสำหรับทุกการเดินทาง ซึ่งจะทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยกล่องบรรทุกสัมภาระ จะมีทั้งกล่องเหล็กและพลาสติก
กล่องเหล็กจะมีราคาราว ๆ 30,000 – 50,000 บาท ส่วนกล่องพลาสติกจะมีราคาราว ๆ 10,000 – 20,000 บาท ครับ
ที่มา: auto.sanook.com