ขั้นตอนการเสียภาษีสรรพสามิต สำหรับรถบิ๊กไบค์ อินวอยซ์ แบบระเอียด

เก็บมาฝากครับ ... ข่าวสาร เชิญชวนพี่น้องชาว BIGBIKE ที่ขี่รถอินวอยซ์อยู่
รถของคุณได้มีการชำระสรรพสามิตหรือยัง?
เพราะตอนนี้กรมสรรพสามิตเริ่มออกกวดขันตามจับรถอินวอยซ์ ดังนั้น
คุณควรนำรถไปชำระภาษีสรรพสามิต โดยขั้นตอนต่างๆดังนี้
ส่วนของการยื่นเอกสาร
1. สำเนาอินวอยซ์
2. ใบเสร็จค่าแรงการประกอบรถ(ใบเสร็จชั่วคราวก็ได้)
3. รูปถ่ายตัวรถ 1 ใบ
4. ขูดเลขเครื่อง เลขคอ อย่างละ 2 ชุด
5. ใบคำร้องขอให้ประเมินการชำระภาษีสรรพสามิต(พิมพ์เอง)
6. ในกรณีที่เจ้าตัวไม่ได้ไปเองต้องมีหนังสือรับรองอำนาจ
รถ Invoice ส่วนมากจะนำเข้ามาในรูปแบบ อะไหล่ชิ้นส่วน เสียภาษีศุลกากร ประเภทอะไหล่
แต่ไม่ได้ เสียภาษีสรรพสามิต ในรูปแบบรถทั้งคัน อย่างน้อย ถ้าเสียภาษีสรรพสามิต แล้วว่าเป็นรถ
ทั้งคันประกอบเสร็จ ก็อาจ นำใบที่กรมสรรพสามิต ออกยืนยัน ตัวรถ ไปลองจดทะเบียนที่ กรมการขนส่งได้
อาจจะทำทะเบียนได้ในราคาถูกเหมือนรถทั่วไปก็ได้นะครับ
ลักษณะที่พี่น้องชาว BIGBIKE ใช้กันอยู่ คือ
1) ชิ้นส่วนอะไหล่ ---> เสียภาษีศุลกากรขาเข้ารูปแบบอะไหล่ใช้แล้ว ---> อะไหล่มาประกอบเป็นรถเต็ม
คันสามารถวิ่งได้ ---> รถเถื่อน

2) ชิ้นส่วนอะไหล่ ---> เสียภาษีศุลกากรขาเข้ารูปแบบอะไหล่ใช้แล้ว ---> ทำอะไหล่ประกอบเป็นรถเต็ม
คันสามารถวิ่งได้ -->เสียภาษีสรรพสามิต ประเภทยานยนต์พาหนะ ---> รถเต็มคันที่ถูกต้องตาม กม.
---> เป็นรถไม่มีทะเบียนยังไม่สามารถใช้วิ่งตามท้องถนนได้.

3) ชิ้นส่วนอะไหล่ ---> เสียภาษีศุลกากรขาเข้ารูปแบบอะไหล่ใช้แล้ว ---->ทำอะไหล่ประกอบเป็นรถเต็ม
คันสามารถวิ่งได้ --->เสียภาษีสรรพสามิต ประเภทยานยนต์พาหนะ ---> รถเต็มคันที่ถูกต้องตาม กม.
---> นำไปตรวจสภาพ จดทะเบียนที่ขนส่ง ---> เป็นรถถูกต้องตามกม. สามารถนำมาวิ่งได้ตามปกติ.
ตามหัวข้อที่ 1 เสียแค่ภาษีศุลกากรขาเข้าในรูปแบบชิ้นส่วนอะไหล่ ได้ Invoice แต่นำรถมาประกอบเป็นคันใช้สอย
ผิดจุดประสงค์ ถูกจับ เจ้าพนักงานมีสิทธิ์ สั่งปรับนำรถไม่เสียภาษีป้ายมาวิ่งในทาง ยึดไว้ตรวจสอบว่าเป็นรถจารกรรมมาหรือไม่
เพราะเป็นรถที่ประกอบเองจากชิ้นส่วนอะไหล่ ไม่สามารถชี้ชัดหรือยืนยันแน่ชัดของที่มาในชิ้นส่วนได้ยกเว้นแค่
โครงรถ,และเครื่องยนต์ เท่านั้นที่มีเอกสารทางศุลกากรออกกำกับให้ ทางเจ้าพนักงานมีสิทธิ์ ยึดไว้ตรวจสอบ
และส่งให้ทางสรรพสามิต เทียบปรับปรับอีกครั้ง.

ตามหัวข้อที่ 2 ตามหัวข้อที่ 1 เสียแค่ภาษีศุลกากรขาเข้าในรูปแบบชิ้นส่วนอะไหล่ ได้ Invoice นำรถมาประกอบเป็นคัน แล้ว
ยืนเรื่อง ให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบประเมินราคาและเสียภาษี เมื่อผ่านมีหนังสือยืนยัน เทียบเท่าได้กับรถที่ประกอบ
สมบรูณ์เป็นรถหนึ่งคันสามารถวิ่งได้ แต่ไม่สามารถใช้ในทางหลวงได้ ถ้าถูกจับโดย ตร. จะเทียบได้กับ รถจักรยานยนต์เล็ก
ที่ไม่มีป้าย หรืออยู่ในระหว่างรอป้าย เจ้าพนักงานจะแจ้งข้อหาเทียบปรับ นำรถที่ไม่เสียภาษีป้ายมาวิ่งในทาง
ส่วนเรื่องยึดรถไว้เพื่อตรวจสอบจารกรรมนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจขอเจ้าพนักงานเท่านั้น ส่วนจะยึดเพื่อส่ง
ต่อให้ทางสรรพสามิตนั้นคงตกไป เพราะได้ผ่านการตรวจสอบและเสียภาษีแล้ว ถ้าเจ้าของรถมีเอกสารยืนยัน
การมีตัวตนของเจ้าของและการเสียภาษีสรรพสามิตที่ถูกต้อง ก็พ้นจากการยึดรถไว้ตรวจสอบ แต่จะต้องถูกปรับ
ในข้อหานำรถที่ไม่เสียภาษีป้ายมาใช้ในทาง.

หัวข้อที่ 3 รถคันนี้ได้เสีย ภาษีศุลกากรขาเข้า,ภาษีสรรพสามิตรูปแบบ ยานยนต์,นำรถไปตรงสภาพและจดทะเบียนป้าย
เมื่อผ่านทางกรมการขนส่งทางบก ออกป้ายมาแล้วให้ถือว่าสิ้นสุด รถคันนั้น ได้เป็นรถที่ถูกต้องตาม กม.
ที่ได้รับอนุญาตใช้วิ่งในทางได้** เจ้าพนักงานมีสิทธิ์ จับและเทียบปรับได้ (200-400 บาท)ในข้อหา วิ่งขวา,
ผ่านไฟแดง,ขับโดยประมาท,ดัดแปลงชิ้นส่วน,อุปกรณ์พื้นฐานไม่ครบ เท่านั้น.
*****เพิ่มเติม*******
กรณีวิธีการคำนวณภาษีสรรพสามิต นำเข้าจากต่างประเทศ
ภาษีสรรพสามิต =( C.I.F. + อากรขาเข้า + ภาษีค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม ) x อัตราภาษี)
หารด้วย 1-(1.1x อัตราภาษี)

***หมายเหตุ **
อัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าร้อยละ 3
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
บริษัทผู้นำเข้ารายหนึ่ง นำเข้ารถจักรยานยนต์ 4 จังหวะ จำนวน 1 คัน ราคา ซี.ไอ.เอฟ. 123,622.08 บาท
(คือ ราคาสินค้า + ค่าขนส่ง + ค่าประกันภัย) อากรขาเข้า 89,008.00 บาท และอัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าร้อยละ 3
ดังนั้น***จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 6,079 บาท พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ 10
ของค่าภาษี = 607.9 บาท รวมภาษีต้องชำระ = 6,668.90 บาท
เรื่องน่าคิด(แล้วแต่ท่านจะพิจารณา)
1.รถจักรยานยนต์พวกนี้ เป็นรถที่นำชิ้นส่วนเข้ามาประกอบเป็นคันภายในประเทศครับ
ซึ่งเป็นการหลบภาษีสรรพสามิตตั้งแต่ต้น ปกติรถที่นำเข้าทั้งคัน จะต้องเสียภาษีนำเข้า (ศุลกากร) ภาษีสรรพสามิต
(ศุลกากรเป็นผู้เก็บแทน) อยู่แล้ว แต่พอนำเข้าเป็นชิ้นส่วน ก็จะเสียภาษีศุลกากรอีกอัตรานึง ซึ่ง
ถูกกว่าการเสียภาษีแบบทั้งคัน ส่วนภาษีสรรพสามิตไม่ต้องเสียเพราะยังเป็นชิ้นส่วนอยู่(ยังไม่เป็นรถ)
2.การประเมินราคา ใช้ราคารถใหม่ในต่างประเทศ(ตอนยังเป็นรถใหม่)อ้างอิงด้วยบวกด้วยค่าใช้จ่ายในการประกอบอีก
3.อัตราภาษี 3% ของราคาประเมิน บวกด้วยภาษีมหาดไทยอีก 10% ของภาษีสรรพสามิต เช่นราคาประเมิน 100000 บาท
ภาษีสรรพสามิต 3% คือ 3000 และอีก 10 % ของสรรพสามิต คือ 300 รวมเป็น 3300 ครับ
4.เรื่องเบี้ยปรับ ปกติสินค้าในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต จะต้องเสียภาษีก่อนที่จะนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม
ถ้านำออกมาก่อนก็ต้องเสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของค่าภาษีสรรพสามิต (3000*2=6000) ส่วนเงินเพิ่ม
ต้องเสียร้อยละ 1.5 ต่อเดือน นับจากรถออกจากโรงอุตสาหกรรม
5.กรมสรรพสามิตมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม พวกนี้จะออกทำงานกันตลอด ดูสินค้าในพิกัดของกรมฯ
(บางทีต้องทำกันตอนกลางคืนด้วย) และบางครั้งจะไม่แต่งเครื่องแบบเพื่อไม่ให้ผู้กระทำความผิดรู้ตัว
(คล้ายตำรวจนอกเครื่องแบบ)
สรุป เสีย3%จากราคาประเมิน +10% ครับ

ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล: norther-lampang.tarad.com
Share on Google Plus